วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ทิศทางของการการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) : การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม


 ยุทธนา พันธ์มี
                                                               Yutthana Punmee

            บทความนี้เป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน จากบทความการสังเคราะห์งานวิจัย และการเสนอแนวคิดในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ตามทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาครูในการบรูณาการการเรียนรู้กับเทคโนโลยี โดยแยกออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นการจัดทำรายงานผลการสังเคราะห์งานวิจัย ตอนที่สอง เป็นการจัดทำบทความวิชาการ

*อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 

ตอนที่
รายงานผลการสังเคราะห์การวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน

 1. ประเภทของเอกสารและงานวิจัย   
          ผลการรวบรวมข้อมูลเอกสาร บทความวิชาการ บทความวิจัย และวิทยานิพนธ์ จากในประเทศไทย ที่มีเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และได้ค้นคว้าจากห้องสมุดจากสถานศึกษาต่างๆ ตั้งแต่ปี 2550 ถึง 2556 พบว่า จำนวนเอกสารการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย วิทยานิพนธ์ จำนวน 28 เรื่อง บทความวิจัย จำนวน 12 บทความ  บทความวิชาการ จำนวน 6 บทความ รวมแหล่ง 46 แหล่ง จากจำนวน 19 สถานศึกษา หากพิจารณาแล้วงานวิทยานิพนธ์มีจำนวนมากแต่หากผู้จัดทำวิทยานิพนธ์จะนำมาเขียนเป็นบทความวิชาการและบทความวิจัยยังมีน้อย


ภาพที่
1 แผนภูมแสดงจำนวนเอกสารเกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบผสมผสาน

นั่นหมายความว่าการเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ในลักษณะของเอกสารวิชาการบทความต่างๆ ยังคงมีจำนวนที่น้อยมาก เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนการสอนแบบผสมผสาน แนวคิดเกี่ยวกับการนําการเรียนแบบผสมผสาน (
Blended Learning) มาประยุกตใชในการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา
          [1]การเรียนการสอนแบบผสมผสานเปน แนวทางสําหรับอาจารยที่สนใจทฤษฎี หรือวิธีการใหมๆ มาปรับใชในการสอนของตนเอง ทั้งนี้เพื่อตอบสนอง     ตอการนําเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีใชกันอยูแลวใน       ปจจุบันใหเกิดประโยชนดานกิจกรรมการเรียนการสอนใหมากที่สุด

2. คำและความหมายที่ใช้สำหรับ Blended Learning
          ความหมายของการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการจัดกิจกรรมและการสอนที่ใช้การผสมผสานหลายวิธีและใช้สื่อเทคโนโลยี โดยคำนึงถึงผู้เรียน สภาพแวดล้อม เนื้อหา สถานการณ์ และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยสามารถจัดการเรียนการสอนทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยมีการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาเป็นส่วนหนึ่ง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด เกิดทักษะ และเกิดการเรียนรู้ที่ทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

 








    
ภาพที่ 2 แนวคิดการเรียนแบบผสมผสาน
                ที่มา : http://abhichat.wordpress.com/

          [2]หากมองดูแล้วรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเราลองมาดูกันว่าแนวทางการผสมควรจะมีสัดส่วนอย่างไร โดยสัดส่วนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแบบ 50:50 , 70:30, 80:20, การจัดการเรียนแบบผสมผสานระหว่างการเรียนปกติกับการเรียนแบบออนไลน์ ควรมีสัดส่วนอย่างไร เป็นคำถามที่ต้องมาพิจารณาใน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะของวิชากับลักษณะของสื่อออนไลน์ ซึ่งลักษณะของรายวิชาต้องพิจารว่าเป็นวิชาทฤษฎีอย่างเดียว ทฤษฎีร่วมกับปฏิบัติหรือวิชาปฏิบัติอย่างเดียว และลักษณะของสื่อออนไลน์จะใช้เป็นสื่อหลักหรือสื่อเสริม

3. ลักษณะงานเขียน หรือปัญหาการวิจัย ประกอบด้วย
         
ลักษณะของการเรียนการรู้แบบผสมผสาน ทั้งหมด
46 เรื่อง โดยแยกออกเป็นลักษณะของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย 1)การออกแบบการจัดการเรียนรูปแบบผสมผสาน มีจนวน 4 บทความ 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานมีจำนวน 17 บทความ 3)การใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีจำนวน 16 บทความ 4)การจัดการเรียนรู้รูปแบบ มีจำนวน 2 บทความ 5)การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีจำนวน 5 บทความ
 










ภาพที่ 3 แผนภูมแสดงจำนวนลักษณะงานเขียน หรือปัญหาการวิจัย
 
หากพิจาณาจำนวนของลักษณะงานเขียนและปัญหาการวิจัยรูปแบบมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับแนวทางในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้นำไปใช้ได้พิจารณาความเหมาะสมของแต่ละบริบทของผู้สอนและความถนัดที่จะนำสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาแบบไหนไปใช้ร่วมกับการเรียนการสอน ซึ่งจะทำให้ผลการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานมีประสิทธิภาพเพราะเกิดจากความรู้ความสามารถของผู้สอนอันจะเกิดประสิทธิผลต่อผู้เรียนมากที่สุด

4. เครื่องมือประกอบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
           เครื่องมือประกอบการเรียนการสอนรูปแบบผสมผสาน  Blended Learning จากข้อมูลจำนวน 46 แหล่ง ประกอบไปด้วย 1)Blended Learning กับรูปแบบการเรียนการสอน จำนวน 17 แหล่ง 2)Blended Learning กับวิธีการเรียนการสอน  จำนวน 16 แหล่ง 3)Blended Learning กับเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 13 แหล่ง หากดูจากเครื่องมือที่ประกอบกับการเรียนการสอนแบบผสมผสานแล้วเราจะเลือกรูปแบบการสอน สื่อ วิธีการสอน แบบไหนจึงจะเหมาะสม

ภาพที่ 4 แผนภูมแสดงจำนวนรูปแบบการเรียนผสมผสานกับรูปแบบสื่อนวัตกรรมทางการศึกษา

          หากพิจารณาถึงแนวทางการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 มาเป็นแนวทางที่จะเลือกวิธีการสอน และสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาที่สามารถนำใช้ประกอบรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เช่น การเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน ส่วนสื่อนวัตกรรมทางการศึกษา เช่น e-Learning, WBI, Filliped Classroom, m-Learning เป็นต้น
          ในรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานหากเรานำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นที่ผ่านกระบวนการวิจัย มาพัฒนาการเรียนการสอนโดยได้รับคำแนะนำจากผู้วิจัยก็อาจประสบความสำเร็จที่พัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม แต่หากว่าผู้สอนมีความรู้ความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันก็ควรจะมีแนวทางการพัฒนาบุคลากรเหล่านั้นก่อนที่จะนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานไปใช้  [3]ซึ่งผู้สอนจำเป็นต้องเรียนรู้การ บูรณาการทักษะเข้าในการสอนเนื้อหาหลักด้านวิชาการ ตามกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อให้ประสบความสำเร็จทั้งในด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต   
          การพัฒนาทักษะแห่งอนาคตใหม่สำหรับประเทศไทยการนำทักษะในศตวรรษที่ 21 ทุกทักษะไปใช้นักเรียนทุกคนจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาหลักด้านวิชาการ การที่นักเรียนจะสามารถคิดอย่างมีวิจารณญานและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยบูรณาการของพื้นฐานความรู้
          ภายใต้บริบทการสอนความรู้วิชาหลัก นักเรียนต้องเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นเพื่อให้ประสบความสำเร็จในโลกทุกวันนี้ เช่น การคิดอย่างมีวิจารณญาน การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารและการร่วมมือกัน กรอบความคิดข้างต้นจำเป็นต้องมีระบบสนับสนุนการศึกษาที่จำเป็น ได้แก่ มาตรฐานการเรียนรู้ การประเมินผล หลักสูตรและวิธีการสอน การพัฒนาวิชาชีพและบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้มากขึ้นและจบการศึกษาออกไปด้วยความพร้อมที่จะประสบความสำเร็จในเศรษฐกิจโลกของทุกวันนี้

การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
          [3]การประยุกต์ใช้ในโรงเรียน Albuquerque Public Schools, New Mexico ซึ่งใช้วิธีการเรียนแบบผสมผสานโดยการใช้บทเรียนออนไลน์ กับการเรียนในชั้นเรียนทั้งนี้เพื่อ พัฒนาการเรียนการสอน เพื่อการจัดห่าทางเลือกที่ดี และเหมาะสมที่สุดให้แก่ผู้เรียน ผู้เกี่ยวข้องกล่าวว่า สําหรับสัดส่วนในการแบ่งระหว่างการเรียนออนไลน์กับการเรียนในชั้นเรียน ไม่เป็นปัญหาเท่าใดนัก แต่ส่วนที่เป็นประเด็นก็คือวิธีการ หรือยุทธวิธีใดจะสามารถตอบสนอง ความต้องการของผู้เรียนได้มากที่สุด ตัวอย่างชั้นเรียนที่ใช้อย่างประสบผลก็คือ ผู้เรียนวิชา ESL (English as a Second Language) การเรียน
รูปแบบนี้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถฝึกฝนตัวเองซ้ำแล้วซ้ำอีก
 และใช้บทเรียนได้เป็นเวลานาน เท่าที่ผู้เรียนต้องการ แAlbuquerque ใช้แหล่งทุ่นจากมลรัฐ แหล่งทุนจากสถานบัน EETT และ E-Rate เป็นต้น
          โรงเรียน Digital Harbor High School ที่
Baltimore City มลรัฐแมรี่แลนด์ เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  และเน้นการสอนด้านเทคโนโลยี ซึ่งแบ่งเป็น 4 สาขาด้วยกัน คือ ด้านการเขียนโปรแกรม ด้านสื่อวีดีโอ ด้านการบริการสนับสนุนข้อมูล และด้านเครือข่ายข้อมูล นักเรียนทุกคนในโรงเรียน Digital Harbor ต้องสอบผ่านแบบทดสอบมาตรฐานของภาคอุตสาหกรรม An industry standard test เพื่อที่จะสำเร็จการศึกษา
          ทุกชั้นเรียนของ Digital Harbor High School ใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัท Blackboard ที่ตอบสนองแนวคิดในการผสมผสานของการเรียนแบบปกติ กับการเรียนแบบออนไลน์ สำหรับองค์ประกอบของการเรียนแบบออนไลน์ได้แก่ เอกสารต่างๆ กิจกรรมดิจิทัลเป็นฐาน การส่งการบ้านออนไลน์ กระดานแสดงความคิดเห็น แบบทดสอบ และการประเมินผล และสมุดรายงานผลการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ครูมีหน้าที่บรรจุแผนการเรียน และระดับผลการเรียน และข้อมูลเหล่านี้ต้องมีการปรับปรุงใหม่ ทุกๆ 2 สัปดาห์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวว่า หลายคนมีส่วนในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้ Brian ในฐานะผู้บริหารมีความคาดหวังให้ครูใช้เทคโนโลยีและเช่นกันเขาประเมินครูจากการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ครูส่วนใหญ่ในโรงเรียนเป็นแนวทางในการใช้ และรักการใช้เทคโนโลยี พวกเขาเชื่อว่านี้เป็นวิธีการที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุด
          สำหรับตัวอย่างของการผสมผสาน ได้แก่ การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องไมโทซิส ครูเกริ่นนำถึงสภาพต่างๆ ของโมโทซิส ก่อนการทดลองในห้องแล็บด้วยหัวหอม ครูแสดงให้นักเรียนเห็นภาพหัวห้อมด้วยมุมมองของกล้องจุลทรรศน์ และชี้แจงว่าเป็นตัวอย่างภาพที่นักเรียนต้องสังเกตห้องแล็บหลังจากกิจกรรมในห้องแล็บเสร็จ ครูแสดงเหตุการณ์ Time lapse ในวีดิทัศน์
          ในห้องเรียนส่วนใหญ่จะมีฐานปฏิบัติการที่พร้อมด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ ที่สนับสนุนการเรียน ได้แก่ แผนผังความคิด วีดีโอ การสืบค้นข้อมูล และเครื่องมือสนับสนุนการเรียนอื่นๆ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยตอบสอนงรูปแบบการเรียนที่หลากหลายได้เป็นอย่างดี
          โรงเรียน Digital Harbor ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะตัวเลขเฉลี่ยของอัตราการมาเรียนอยู่ที่ร้อยละ 92 ขณะที่โรงเรียนอื่นๆ ในมลรัฐเดียวกันอยู่ที่ร้อยละ 83.5
          อีกตัวอย่างหนึ่ง ได้แก่ NIIT Technologies ซึ่ง Purnima Valiathan ได้จำแนกการเรียนรู้แบบผสมผสานไว้ 3 รูปแบบ คือ
1.    Skill-Driven Model ซึ่งเป็นการรวมกันของการเรียนด้วยตนเอง (Selt-paced learning) กับการเรียนโดยมีผู้สอน หรือวัสดุสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาทางด้านความรู้ และทักษะที่ต้องการเฉพาะ
2.    Attitude-Driven Model ซึ่งเป็นการรวมกันของเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ช่วยในการเรียนรู้กับสื่อต่างๆที่นำไปสู่การพัฒนาทางด้านพฤติกรรม และเจตคติที่ต้องการเฉพาะ
3.    Competency –Driven Model เป็นการรวมกันของการจัดการด้านองค์ความรู้ (Knowledge Management Resource) โดยใช้วัสดุสนับสนุนการเรียนการสอนเป็นแหล่งเก็บข้อมูล ผนวกกับการเรียนรู้โดยมีผู้ให้คำปรึกษา ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะด้านการพัฒนาวิธีการทำงานด้วยตนเอง

ตารางที่ 1 แสดงการเรียนแบบผสมผสาน 3 รูปแบบของ Purnima Valiathan
The Approach # 1 Skill-Driven Model
ความต้องการ
กิจกรรม
- เพื่อต้องการพัฒนาทางด้านความรู้และทักษะที่ต้องการเฉพาะ
- จัดละกลุ่มผู้เรียน และแผนการเรียนรู้ที่ต้องเรียนด้วยตนเองที่ชัดเจน
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ รองรับและสนับสนุนการเรียนรู้โดยผู้สอนเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมในชั้นเรียน
- กระบวนการเรียนการสอนจัดให้มีการเรียนในห้องเรียนหรือผ่านระบบเครือข่าย
- จัดเตรียมระบบเครือข่ายเพื่อรองรับการติดต่อสื่อสาร เช่น email , chat เป็นต้น
- ออกแบบการเรียนให้มีโครงงานช่วงการเรียนการสอน
The Approach # 2  Attitude-Driven Model
ความต้องการ
กิจกรรม
- เพื่อต้องการพัฒนาด้านพฤติกรรมและเจตคติที่ต้องการเฉพาะ
- จัดให้มีการพบปะ / ประชุม / อบรม / สัมมนาผ่านเว็บไซต์
- มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม
- จัดให้มีการแสดงบทบาทสมมติในการเรียนรู้
The Approach # 3 Competency –Driven Model
ความต้องการ
กิจกรรม
- เพื่อต้องการพัฒนาทางด้านสมรรถนะ ด้านการพัฒนาวิธีการทำงานได้ด้วยตนเอง
- มีผู้เชี่ยวชาญ / ที่ปรึกษาควบคุมดูแล
- มีระบบดำเนินการกิจกรรมผ่านเครือข่าย (LCMS/LMS)

ตอนที่ 2 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
          [2]การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมจะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนในการเข้าสู่การทำงานซึ่งมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นในโลกปัจจุบัน ทักษะด้านนี้ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) การสื่อสารและความร่วมมือ (Communication and Collaboration)
          [4]ความคิดสร้างสรรค์ Creativity เป็นของทุกคนไม่ใช่แค่นักออกแบบหรือคนที่เรียนรู้ในศาสตร์ด้านศิลปะ หรือศิลปินเท่านั้น เพราะความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ทุกเวลา บางครั้งแค่เพียงเราคิดจะแก้ไขปัญหาหนึ่ง นั้นก็คือการสร้างความคิดสรร้างสรรค์แล้ว แนวทางที่จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ คือ แผนที่ความคิด (Mind Map)
          นวัตกรรม Innovation คือ การนำสิ่งใหม่ๆ
ซึ่งอาจจะเป็นความคิด หรือการกระทำหรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น  โดยอาศัยหลักการทฤษฎีที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้เข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของงาน แนวทางที่จะนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษา เช่น Blog Wikipedia Twitter Facebook Google Youtube web2.0 ฯลฯ
          การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา Critical Thinking and Problem Solving คือ [5]การคิดที่มีเหตุผลโดยผ่านการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบมีหลักเกณฑ์ มีหลักฐานที่เชื่อถือได้เพื่อนำไปสู่การสรุปและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพว่าสิ่งใดถูก และสิ่งใดควรเลือก หรือสิ่งใดควรทำ [4] แนวทางที่จะพัฒนาให้การคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยกระบวนการแก้ปัญหา การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะใฝ่หา ความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นผู้เรียนเป็นผู้จัดสินใจในสิ่งที่จะต้องการแสวงหาความรู้และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ซึ่งการเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง รูปแบบที่เหมาะสม คือ PBL : Problem based Learning
          ทักษะการสื่อสาร (Communication skills)  คือความเข้าใจ การจัดการ และการสร้างการสื่อสารทางการพูด การเขียน ที่มีประสิทธิภาพ และผ่านทางสื่อมัลติมีเดีย รูปแบบและบริบทที่หลากหลาย ซึ่งมองว่าควรมีความรู้ได้แก่ ความรู้และทักษะในกลุ่มของโปรแกรมสำนักงาน  ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมผลิตสื่อ ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์ ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ไอที ความรู้และทักษะการใช้งานอินเทอร์เน็ต
          ความร่วมมือ (Collaboration) คือการรู้จักการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ การปรับตัวในบทบาทการทำงานและความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันผู้อื่น รวมถึงการเคารพในมุมมองที่มีความแตกต่าง ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ Collaboration Learning
          จากแนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หากมองดูแล้วการที่จะพัฒนาทักษะผู้เรียนให้เกิดทักษะดังกล่าว ผู้สอนควรจะมีทักษะในการจัดการเรียนรู้อย่างดีเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้และทักษะ ซึ่งรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีความหลากหลายของการบูรณาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะมีองค์ประกอบที่ครูผู้สอนจำเป็นต้องมี คือ ความรู้ด้านเนื้อหา (Content)  ความรู้ศิลปะการเรียนการสอน (Pedagogy) และความรู้ด้านเทคโนโลยี โดยกรอบความคิดข้างต้นจำเป็นต้องมีระบบสนับสนุนการศึกษา ได้แก่ มาตรฐานการเรียนรู้ การประเมินผล หลักสูตรและวิธีการสอน การพัฒนาวิชาชีพและบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้มากขึ้นและจบการศึกษาออกไปด้วยความพร้อมที่จะประสบความสำเร็จในการพัฒนาบุคคลกรที่จะพัฒนาประเทศต่อไป

อ้างอิง
ปณิตา วรรณพิรุณ. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียน
          แบบผสมผสาน
.  
วารสารวิทยบริการ. ปีที่ 23
            ฉบับที่
2 พ.ค. ถึง ส.ค. 2555. กรุงเทพฯ :
            มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
.
เครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ใน
            ศตวรรษที่
21. (2554). ทักษะแห่งอนาครใหม่การ
            เรียนรู้ในศตวรรษที่
21. สืบค้นได้จาก
            http://www.samkha.ac.th /Pramoteweb/
            21st_Century_Learning_Skills.pdf สืบค้นเมื่อ
            20 เมษายน 2557.
ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี. (2555). การเรียนการสอนและการ
            ประยุกต์ใช้
. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม ปีที่ 11
            ฉบับที่
1 ตุลาคม 2554 – มกราคม 2555.
            กรุงเทพฯ
: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ
            ทหารลาดกระบัง
.
เมฆินทร์ ลิขตบุญฤทธิ์. (2556). สรุปทักษะแห่งอนาคต การ
            เรียนรู้ในศตวรรษที่
21 ฉบับครูบรรณารักษ์.
            กรุงเทพฯ
: สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.
สุวิทย์  มูลคำ. (2550). กลยุทธ์ การสอนอย่างมีวิจารณญาณ.
            พิมพ์ครั้งที่
4 ห้างหุ้นสวนจำกัด ภาพพิมพ์. เขตบาง
            พลัด
: กรุงเทพฯ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น